มูลไส้เดือน ขุมทรัพย์จากธรรมชาติที่คุณอาจไม่รู้จัก

เคยสงสัยไหมว่ามูลไส้เดือนที่คุณผลิตเองนั้นมีคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศกรมวิชาการเกษตรหรือไม่? คุณสามารถส่งตัวอย่างมูลไส้เดือนที่ผลิตเองไปตรวจได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดิน เพียงแค่เขียนคำร้องพร้อมตัวอย่างและรายละเอียดตัวอย่าง แล้วรอผลการวิเคราะห์

คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดที่ไม่เป็นของเหลว

ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีควรมีคุณสมบัติรายละเอียดกำหนดคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ตามมาดรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศกรมวิชาการเกษตร ดังนี้

  1. ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ เกณฑ์มาตรฐานไม่เกินร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก
  2. ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic Matter: OM) เกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก
  3. อัดราส่วนคาร์บอนต่อไนโดรเจน (C/N Ratio) เกณฑ์มาตรฐานไม่เกิน 20:1
  4. ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) เกณฑ์มาตรฐานอยู่ระหว่าง 5.5-8.5 (ระเบียบกรมพัฒนาที่ดินว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานปัจจัยการผลิดทางการ)
  5. ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) เกณฑ์มาตรฐานน้อยกว่า 10 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร
  6. ปริมาณธาตุอาหารหลักไนโตรเจน (Total N) เกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก
  7. ปริมาณธาตุอาหารหลักอสฟอรัส (Total P 2 O 5) เกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก
  8. ปริมาณธาตุอาหารหลักพแทสเซียม (Total K 2 O ) เกณฑ์มาตรฐานไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก

ทำไมมูลไส้เดือนถึงดี?

มูลไส้เดือนไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช แต่ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีให้กับจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุและปลดปล่อยธาตุอาหารที่พืชต้องการออกมาได้มากขึ้น

หวังว่าบทความนี้หรือบทความอื่นๆ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความรู้ให้กับผู้อ่านได้มากขึ้น